top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

สังคมบีบคั้นจน 'บ้านแคบ'

บ้าน เป็นที่พักใจ หรือกำลังจะกลายเป็นเรื่องหนักใจของหนุ่มสาวในอนาคต



ทุกวันนี้เราต่างมีทางเลือกในการอยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ คอนโด อพาร์ทเมนท์ หอพัก ห้องชุดอาคารพาณิชย์ ตามแต่ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน แต่ในอนาคตการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสักหลังหนึ่งอาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้น


ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่พื้นดินมีจำกัดทำให้ราคาต่อหน่วยของที่ดินแพงขึ้น จากการประเมินสถานการณ์ความสามารถของคนไทยในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยปัจจุบันพบว่าผู้เป็นเจ้าของบ้านส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยที่มีค่าเฉลี่ยที่อายุ 53.87 ปี โดยในปี 2015 รายได้รวมของคนในบ้านที่ทำให้มีบ้านได้อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 23,464 บาท แต่ตัวเลขเหล่านี้มีแนวโน้มกำลังเปลี่ยนไปอีกมากในอนาคต


การออกแบบความพร้อมที่จะมีบ้าน

ปัจจัยสำคัญหนึ่งของการที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองได้คือการมีรายได้ที่เพียงพอที่จะใช้จ่ายไปกับบ้าน ในปี 2018 ตัวเลขของรายได้ที่จะทำให้คนที่มีรายได้ต่ำระดับกลางสามารถตัดสินใจซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้คือการมีรายได้เดือนละ 25,312 บาท จากการคาดการณ์พบว่าตัวเลขนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในอีก 5 ปีจากนี้หรือในปี 2024 ตัวเลขจะขึ้นไปแตะที่รายได้ 34,188 บาทต่อเดือน และภายใน 10 ปีหรือในปี 2029 ตัวเลขรายได้ที่สอดคล้องกับการมีบ้านจะอยู่ที่ 44,141 บาทต่อเดือน (อ่านงานวิจัยที่ www.tci-thaijo.org/index.php/nakhara/article/view/131667 )


ด้วยสภาพความบีบคั้นเรื่องรายได้ดังกล่าวอาจทำให้หนุ่มสาวในอนาคตต้องแบกรับภาระที่มากขึ้นหากยังไม่มีมาตรการหรือวิธีการที่จะจัดสรรรายได้ที่จะทำให้สามารถเข้าถึงการมีบ้านอย่างสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ภาพในโพสต์นี้เป็นภาพถ่ายงานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวออสเตรีย Erwin Wurm ( www.erwinwurm.at ) ซึ่งกำลังจัดแสดงอยู่ในชุมชน Le Havre ประเทศฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของงาน A Summer in Le Havre 2019 โดยศิลปินตั้งชื่อผลงานนี้ว่า ‘บ้านแคบ (Narrow House)’ เพื่อนำเสนอความบีบคั้นของยุคสมัยที่ถูกตรึงจาก ‘มาตรฐาน’ ที่สังคมกำหนดไว้เกี่ยวกับการอยู่อาศัย เขาทำงานศิลปะนี้ให้เป็นโครงสร้างของบ้านที่บิดเบี้ยว เพี้ยนจากความเป็นจริง ในขณะที่อาจกำลังสะท้อน ‘ความจริง’ ของการมีบ้านในปัจจุบัน


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page