top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

ที่จับประตูฆ่าเชื้อโรค

จะดีแค่ไหนถ้าห้องน้ำทุกห้องในห้างเปลี่ยนที่จับประตูให้ฆ่าเชื้อโรคได้



นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (The Chinese University of Hong Kong) ชนะเลิศการประกวดการออกแบบปี 2019 ของ James Dyson Awards ด้วยที่จับประตูที่กำจัดแบคทีเรียได้ด้วยตัวเอง และยังไม่ต้องใช้พลังงานจากภายนอกในการทำความสะอาดด้วย


ลูกบิดประตูและที่จับประตูเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสัมผัสมากที่สุดอย่างหนึ่งในบ้าน และยิ่งหากเป็นสถานที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล หรือร้านค้า ที่จับประตูก็จะยิ่งมีความถี่ที่จะถูกสัมผัสมากขึ้นไปอีก และคนที่สัมผัสก็หมุนเวียนตลอดวัน ทำให้ที่จับประตูกลายเป็นแหล่งรับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องร่วง หรือไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด


การออกแบบการหยุดแพร่กระจายเชื้อในที่สาธารณะ

ที่จับประตูนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยนักศึกษาคู่หู Sum Ming Wong และ Kin Pong Li (http://www.jamesdysonaward.org/en-HK/2019/project/self-sanitizing-door-handle/ ) เกิดไอเดียขึ้นมาจากความวิตกของพวกเขาที่มีต่อการแพร่กระจายไข้หวัดในที่สาธารณะ โดยเริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ระบาดของไข้หวัดซาร์ส (SARS) เมื่อปี 2003 ซึ่งทำให้มีคนทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าเจ็ดร้อยราย และส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตก็มาจากจีนและฮ่องกงนั่นเอง


ผลงานที่จับประตูชิ้นนี้มีกลไกเชื่อมต่อกับระบบการพับของประตู โดยจะดึงเอาพลังงานจากการเปิด-ปิดประตูมาเก็บกักไว้แล้วเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้าเพื่อใช้หล่อเลี้ยงระบบทำความสะอาด การทำความสะอาดที่จับประตูนี้เริ่มต้นตั้งแต่การเคลือบไทเทเนียมไดออกไซด์ลงบนผิวแก้วของที่จับประตู สารชนิดนี้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยการกระตุ้นจากแสงยูวีซึ่งส่งมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่ซ่อนไว้บริเวณหัวและท้ายของที่จับประตู และด้วยการใช้แหล่งพลังงานที่มาจากการเปิด-ปิดประตูนี้เอง ทำให้ที่จับประตูนี้สามารถทำงานได้อัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปิดและปิดประตู ช่วยเสริมข้อดีให้ไอเดียการออกแบบนี้ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีกเพราะตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องการการบำรุงรักษาให้ยุ่งยาก


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page