top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

แบบรถเมล์เว้นระยะห่าง

ยุคหลัง Covid-19 รถโดยสารสาธารณะควรเปลี่ยนไปอย่างไร



การออกแบบโดย Andrea Ponti นักออกแบบจากอิตาลี เสนอแนวคิดสำหรับรถสาธารณะไร้คนขับที่จะถูกใช้ในฮ่องกงหลังสิ้นสุดสถานการณ์ Covid-19 โดยคำนึงถึงการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้ผู้โดยสารที่มาด้วยกันต้องเกิดความรู้สึกห่างเหิน


การออกแบบความปลอดภัยที่ยังดำรงความเป็นมนุษย์

เมื่อรถรถสาธารณะของเมืองไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมาตั้งแต่แรก หลายเดือนที่ผ่านมานี้เราจึงได้เห็นวิธีการปรับตัวของผู้ให้บริการซึ่งใช้วิธีการติดป้าย ‘ห้ามนั่ง’ หรือใช้สิ่งกีดขวางและเครื่องหมายกากบาทขีดทับบทที่นั่ง วิธีการนี้ดูจะมีความยืดหยุ่นดีแต่ก็ทำให้สูญเสียพื้นที่ไปโดยเปล่าประโยชน์จนส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ลดลงไป ปัญหานี้นำมาสู่การออกแบบระบบการติดตั้งที่นั่งใหม่ของฮ่องกง ซึ่งอาจกลายเป็น ‘ความปกติใหม่’ ในไม่ช้า


Ponti ( https://www.andreaponti.com ) ออกแบบรถขนส่งสาธารณะที่มีชื่อว่า ‘Island’ ให้เดินทางด้วยระบบไร้คนขับ (driver-less) และปรับให้รถมี 2 ชั้นเพื่อรองรับผู้โดยสารได้ปริมาณมาก และจุดที่น่าสนใจคือการปรับม้านั่งในรถให้ทุกคนสามารถนั่งด้วยกันได้ในขณะที่ก็ยังมีความปลอดภัยอยู่ รูปแบบการนั่งนี้่เป็นการคิดกลับด้านจากวิธีการนั่งแบบเดิมซึ่งมักให้คนนั่งพิงผนังรถและหันหน้าเข้าหากัน แต่ Ponti เปลี่ยนมาสร้างม้านั่งในลักษณะ ‘เกาะ’ กลางรถ ทำให้แต่ละคนต้องหันหน้าไปคนละทางโดยสมบูรณ์ วิธีการนี้ยังช่วยให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาเป็นครอบครัวสามารถนั่งด้วยกันได้ ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการต้องนั่งประจันหน้ากัน นับเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ในขณะเดียวกันก็ยังรักษาความปลอดภัยได้อย่างเป็นธรรมชาติ


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page