top of page

DESIGN for SOCIAL IMPACTS

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

ปลูกผักไฮโดรในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักกินเองทำได้ง่ายขึ้น ประหยัดพื้นที่ และได้ผลผลิตมากกว่าเดิม



การมีบ้านที่กว้างขวางและมีผืนดินมากพอที่จะปลูกผักกินเองได้อาจเป็นภาพฝันของคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ใช้ชีวิตในเมือง แต่ด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและความจำเป็นที่ต้องอาศัยในบ้านหรือคอนโดที่แออัดยัดเยียดก็ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะแบ่งพื้นที่เพื่อการปลูกผัก


ทางเลือกหนึ่งของใครหลายคนคือการปลูกผัก ‘ไฮโดรโพนิกส์' (hydroponics) ซึ่งเป็นการดูแลผักสวนครัวให้เติบโตด้วยการใช้น้ำแทนการใช้ดิน วิธีนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถปลูกพืชซ้อนกันได้หลายชั้นและมีระบบการไหลเวียนของน้ำไปสู่จุดต่างๆ หลากหลายรูปแบบ สามารถทำได้ตั้งแต่สเกลเล็กเพียงไม่กี่ต้นไปจนถึงการพัฒนาเป็นฟาร์ม และที่สำคัญคือวิธีนี้เป็นการย่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวให้สั้นขึ้นกว่าการใช้ดินมาก


การออกแบบผู้ช่วยดูแลต้นพืช

แม้การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ค่อนข้างสอดคล้องกับความต้องการของคนในเมือง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการดูแลรักษาและรูปลักษณ์ของอุปกรณ์เพาะปลูกซึ่งส่วนใหญ่ในท้องตลาดมองดูไม่สวยงามจนหลายคนที่ปลูกพืชด้วยวิธีนี้ต้องนำไปเก็บไว้ให้ห่างจากสายตา Toby Farmer ชาวออสเตรเลียเจ้าของแบรนด์ Bace จึงพัฒนาเครื่องปลูกผักที่เป็นมิตรต่อใจและยังทำให้การปลูกผักทำได้ง่ายขึ้นมาก (https://youtu.be/A5Fh5zN6MdU)


อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อว่า ‘Rotofarm’ เป็นเครื่องมือปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ที่ย่อพื้นที่เพาะปลูกขนาด 1.5 เมตรให้ม้วนเป็นวงจนกินพื้นที่ใช้งานจริงเพียง 30 เซนติเมตร มีดวงไฟในช่วงคลื่นแสงที่พืขต้องการและสามารถปรับความเข้มของแสงได้อย่างเจาะจงกับต้นพืชแต่ละต้น เครื่องมือนี้จะหมุนช้าๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ต้นพืชทุกต้นได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม การหมุนนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นพืชที่ปลูกภายในอุปกรณ์นี้อยู่ในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำ และทำให้พืชเติบโตเร็วกว่าเดิมถึง 2 เท่า ช่วยลดข้อจำกัดแทบทั้งหมดที่คนรุ่นใหม่ในเมืองให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงาม การประหยัดพื้นที่ การจัดระบบแสงและความชื้นให้เหมาะกับต้นไม้แต่ละต้น และยังมีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้เป็นประจำสูงขึ้นกว่าเดิมมากขึ้นไปอีกขั้น


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page